วัฒนธรรม
วัฒนธรรม
โดยทั่วไปหมายถึง
รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ
วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น
ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม
วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน
ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์
แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค
เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม
เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า
มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค
แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย
ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน
ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ
วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม
วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง
ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย
การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอด
ประเภทของวัฒนธรรม
วัฒนธรรม แบ่งออกเป็น
2
ประเภท คือ
วัฒนธรรมทางวัตถุ คือ
เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อความสุขทางกาย อันได้แก่
ยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย ตลอดจนเครื่องป้องกันตัวให้รอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง
วัฒนธรรมทางจิตใจ
เป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์
เพื่อให้เกิดปัญญาและมีจิตใจที่งดงาม อันได้แก่ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม คติธรรม
ตลอดจนศิลปะ วรรณคดี และระเบียบแบบแผนของขนบธรรมเนียมประเพณี
แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม
คำว่า
"วัฒนธรรม" ในภาษาไทย มาจากคำสองคำ คำว่า "วัฒน" จากคำศัพท์
วฑฺฒน" ในภาษาสันสกฤต หมายถึงความเจริญ ส่วนคำว่า "ธรรม"
มาจากคำศัพท์ "ธรฺม" ในภาษาสันสกฤต หมายถึงความดี เมื่อนำสองคำมารวมกันจึงได้คำว่า
"วัฒนธรรม"
หมายถึงความดีอันจะก่อให้เกิดความงอกงามที่เป็นระเบียบเรียบร้อย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมไว้ว่าเป็น
"สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ,
วิถีชีวิตของหมู่คณะ , ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรม
พ.ศ. 2485 หมายถึงลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม
ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน, ทางวิทยาการ
หมายถึงพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน
และร่วมใช้อยู่ในหมู่ของตน" แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
ให้นิยามไว้ว่า "สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่นวัฒนธรรมพื้นบ้าน
วัฒนธรรมชาวเขา" คำว่า "วัฒนธรรม"
ในภาษาไทยตามความหมายนี้ใกล้เคียงกับคำว่า "อารยธรรม" (ดู #วัฒนธรรมในเชิงของอารยธรรม)ส่วนคำว่า
"culture" ในภาษาอังกฤษ ที่แปลว่าวัฒนธรรมนั้น
มาจากภาษาละติน คำว่า "cultura" ซึ่งแยกมาจากคำ "colere" ที่แปลว่า
การเพาะปลูก ส่วนความหมายทั่วไปในสากล
หมายถึงรูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ
มีการกล่าวถึงวัฒนธรรมว่าเป็น
"หนทางทั้งหมดแห่งการดำเนินชีวิต" ซึ่งรวมถึงกฎกติกาแห่งกิริยามรรยาท
การแต่งกาย ศาสนา พิธีกรรม ปทัสถานแห่งพฤติกรรม เช่น กฎหมายและศีลธรรม
ระบบของความเชื่อรวมทั้งศิลปะ เช่น ศิลปะการทำอาหาร
เมื่อปี พ.ศ. 2543
ยูเนสโก ได้พรรณนาถึงวัฒนธรรมไว้ว่า
"...วัฒนธรรมควรได้รับการยอมรับว่าเป็นชุดที่เด่นชัดของจิตวิญญาณ เรื่องราว
สติปัญญาและรูปโฉมทางอารมณ์ของสังคม หรือกลุ่มสังคม
ซึ่งได้หลอมรวมเพิ่มเติมจากศิลปะ วรรณคดี การดำเนินชีวิต
วิถีชีวิตของการอยู่ร่วมกัน ระบบคุณค่า ประเพณีและความเชื่อ"
วัฒนธรรมในเชิงของอารยธรรม
ในปัจจุบันคนจำนวนมากมีความคิดทางวัฒนธรรมที่พัฒนามาจากวัฒนธรรมของยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่
18
และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณระหว่าง พ.ศ. 2244 – พ.ศ.
2373) ซึ่งประมาณได้ว่าตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
วัฒนธรรมที่พัฒนาในช่วงระหว่างนี้เน้นถึงความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมในยุโรปเองและในระหว่างประเทศมหาอำนาจกับประเทศอาณานิคมทั่วโลกของตน
ใช้ตัวบ่งชี้วัฒนธรรมด้วย "อารยธรรม" แยกความเปรียบต่างของวัฒนธรรมด้วย
"ธรรมชาติ" และใช้แนวคิดนี้มาเป็นตัวชี้วัดว่าประเทศหรือชาติใดมีอารยธรรมมากกว่าชาติใด
บุคคลใดมีวัฒนธรรมมากน้อยกว่ากัน ดังนั้น
จึงมีนักทฤษฎีวัฒนธรรมบางคนพยามยามที่แยกวัฒนธรรมมวลชน
หรือวัฒนธรรมนิยมออกจากการนิยามของวัฒนธรรม นักทฤษฎี เช่น แมททิว อาร์โนลด์ (พ.ศ. 2365 - พ.ศ.
2341) มองว่าวัฒนธรรมเป็นเพียง
"ความคิดและการพูดที่ดีที่สุดที่ได้เกิดขึ้นมาบนโลก" อาร์โนลด์ได้แยกแยะให้เห็นความแตกต่างของวัฒนธรรมมวลชนกับความวุ่นวายในสังคมและอนาธิปไตย
ในแนวนี้วัฒนธรรมจะเชื่อมโยงเป็นอย่างมากกับการงอกงามของวัฒนธรรม นั่นคือ
การปรุงแต่งที่ก้าวไปข้างหน้าของพฤติกรรมมนุษย์
อาร์โนลด์เน้นการใช้คำนี้อย่างคงเส้นคงวา ว่า "...วัฒนธรรม คือ
การไล่ตามหาความสมบูรณ์สุดยอดด้วยการเรียนรู้ในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรา
นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดที่ได้รับการคิดและพูดขึ้นในโลก"
วัฒนธรรมในมุมมองของโลก
ในยุคโรแมนติก
ผู้รอบรู้ในเยอรมัน โดยเฉพาะผู้ห่วงใยใน "ขบวนการรักชาติ" เช่น
ขบวนการรักชาติที่พยายามก่อตั้งประเทศเยอรมันจากรัฐต่าง ๆ
ที่ต่างก็มีเจ้าครองนครอยู่แล้ว และกลุ่มผู้รักชาติที่เป็นชนกลุ่มน้อยที่พยายามต่อต้านจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
พวกเหล่านี้มีส่วนช่วยพัฒนาหัวเรื่องวัฒนธรรมมาสู่ "มุมมองของโลก"
มากขึ้น ในกรอบแนวคิดลักษณะนี้
มุมมองโลกที่พุ่งไปสู่การจำแนกลักษณะของกลุ่มชาติพันธุ์
มีความชัดเจนขึ้นและไม่ให้ความสำคัญของขนาดกลุ่มชน แม้จะเป็นแนวคิดที่กว้างขึ้นแต่ก็ยังคงเห็นว่ายังการแบ่งความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม
"อารยธรรม" และ วัฒนธรรม "ดั้งเดิม" หรือ วัฒนธรรม
"ชนเผ่า" อยู่
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่
19 (ประมาณ พ.ศ. 2420)
นักมานุษยวิทยา
ได้ยอมรับและปรับวัฒนธรรม ให้มีนิยามที่กว้างขึ้นให้ประยุกต์ได้กับสังคมต่าง ๆ
ที่หลากหลายได้มากขึ้น เอาใจใส่ให้ความสนใจกับทฤษฎีของวิวัฒนาการมากขึ้น
มีการอนุมาณว่ามนุษย์ทั้งปวงวิวัฒนาการมาเท่าเทียมกัน
และมนุษย์ที่มีวัฒนธรรมจะต้องเป็นผลมาจากวิวัฒนาการอย่างใดอย่างหนึ่ง
มีการแสดงถึงความลังเลที่จะใช้วิวัฒนาการทางชีววิทยามาใช้อธิบายความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะที่ต่างกัน
ซึ่งเป็นแนวที่เป็นการแสดงรูปแบบหรือส่วนหนึ่งของสังคมเปรียบเทียบกับอีกสังคมโดยรวม
และแสดงให้เห็นกระบวนการครอบงำ และกระบวนการต่อต้าน
วัฒนธรรมในเชิงสัญลักษณ
ภาพจิตรกรรมดอกไม้
ผีเสื้อและ ประติมากรรมหินโดย เช็น ฮองซู ศิลปินสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. 2141 - พ.ศ.
2195)ชาวจีนยกย่องว่าภาพเขียนจีน
คือองค์ประกอบหลักของวัฒนธรรมระดับสูง
ในมุมมองเชิงสัญลักษณ์ของวัฒนธรรม ผลงานของคลิฟฟอร์ด เกียรซ์ (พ.ศ. 2516) และวิกเตอร์ เทอร์เนอร์ (พ.ศ. 2510) ได้หยิบยกสัญลักษณ์ว่าเป็นทั้งการกระทำของ "นักแสดง" ในสังคมและบริบทที่ทำให้การแสดงนั้นมีความหมาย แอนโทนี พี โคเฮน (พ.ศ. 2528) เขียนถึง "เคลือบเงาสัญลักษณ์" (Symbolic gloss) ว่าเป็นตัวช่วยให้ผู้แสดงทางสังคมสามารถใช้สัญลักษณ์ทั่ว ๆ ไปสื่อและทำความเข้าใจระหว่างกันในขณะที่ยังคงรักษาสัญลักษณ์เหล่านั้นให้คงอยู่กับความสำคัญและความหมายส่วนบุคคลไว้ได้ สัญลักษณ์ช่วยจำกัดขอบเขตความคิดทางวัฒนธรรม สมาชิกของวัฒนธรรมต้องพึ่งพิงสัญลักษณ์เมื่อจะต้องวางกรอบความคิดและการแสดงออกทางปัญญาของตน
โดยสรุป
สัญลักษณ์ทำให้วัฒนธรรมมีความเป็นไปได้ แพร่หลาย และอ่านได้ง่าย สัญลักษณ์เป็น
"สายใยแห่งความมีนัย" (webs
of significance) " เป็นตัวทำให้
"ความเป็นปกติ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความเป็นระบบ"
วัฒนธรรมภายในสังคม
สังคมขนาดใหญ่มักมี
วัฒนธรรมย่อย
หรือกลุ่มของคนที่มีพฤติกรรมและความเชื่อที่แปลกไปจากสังคมใหญ่โดยรวมของตน
วัฒนธรรมย่อยอาจเด่นจากอายุของสมาชิกกลุ่มหรือโดยเชื้อชาติ ชาติพันธุ์
ชั้นทางสังคมหรือเพศ คุณลักษณะที่เป็นตัวบ่งบอกลักษณะของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยอาจเป็น
สุนทรียภาพ ศาสนา อาชีพ การเมือง เพศ หรือความสำคัญขององค์ประกอบเหล่านี้
ประเพณี
ประเพณี (อังกฤษ: tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา
เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา
ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ
อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ
หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ
หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ
ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม
รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต
ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม
โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ
ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย
และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล
เป็นต้น
ความหมายของประเพณี
พระยาอนุมานราชธน
ได้ให้ความหมายของคำว่าประเพณีไว้ว่า ประเพณี คือ
ความประพฤติที่ชนหมู่หนึ่งอยู่ในที่แห่งหนึ่งถือเป็นแบบแผนกันมาอย่างเดียวกัน
และสืบต่อกันมานาน ถ้าใครในหมู่ประพฤติออกนอกแบบก็ผิดประเพณี หรือผิดจารีตประเพณี
คำว่าประเพณี
ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า
ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น ขนบ มีความหมายว่า
ระเบียบแบบอย่าง ธรรมเนียมมีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา
และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ ยึดถือเป็นแบบแผน
และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ
ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป
โดยสรุปแล้ว ประเพณี
หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ
ที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา ถ้าคนใดในสังคมนั้นๆฝ่าฝืนมักถูกตำหนิจากสังคม
ลักษณะประเพณีในสังคมระดับประเทศชาติ มีทั้งประสมกลมกลืนเป็นอย่างเดียวกัน
และมีผิดแผกกันไปบ้างตามความนิยมเฉพาะท้องถิ่น แต่โดยมากย่อมมีจุดประสงค์
และวิธีการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเฉพาะส่วนปลีกย่อยที่เสริมเติมแต่งหรือตัดทอนไปในแต่ละท้องถิ่น
สำหรับประเพณีไทยมักมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในคติพระพุทธศาสนาและพราหมณ์มาแต่โบราณ